วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551


Case Study

กรณีศึกษา การประยุกต์เทคโนโลยีจัดเก็บและเคลื่อนย้ายของบริษัทที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลาสติก
ลักษณะธุรกิจ
เป็นโรงงานผลิตถ้วยพลาสติกหลายขนาด จำนวนสินค้าที่ผลิต และจำหน่ายมีมากกว่า 400 ชนิด โรงงานมีกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มนำ เม็ดพลาสติกและเก็บเป็นม้วน และนำมาขึ้นรูป ตัด และพิมพ์สี บรรจุภัณฑ์ ซ้ำซ้อน สินค้าระหว่างผลิต ถูกนำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าสำเร็จรูปรอการผลิตและจัดส่งผังการผลิต และจัดเก็บ
ปัญหาที่เกิดขึ้น
- การจัดซื้อไม่สอดคล้องกับการผลิต ขาดการวางแผนระบบงาน
- การจัดเก็บวัตถุดิบทำให้เกิดงานซ้ำซ้อน ต้องเก็บในคลังสินค้าสำเร็จรูป เสียเวลาเคลื่อนย้ายมาก
- ใช้พื้นที่คลังและปริมาตรคลังสินค้าไม่เต็มพื้นที่ใช้เพียง 30%
- ขาดการประยุกต์ในการเคลื่อนย้ายแบบเป็นระบบ ทำให้ระยะทางเคลื่อนย้ายไกลมาก

ผลจากการปรับปรุง
1.ปรับผังกระบวนการผลิตและคลังสินค้าใหม่ เพื่อลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายตามรูป
2. จัดทำระบบจัดเก็บระบบ Selective Rack เพื่อลดการใช้พื้นที่จากภายนอกและการขนส่ง
3.เปลี่ยนจากการบรรจุเม็ดพลาสติกแบบถุง มาใช้ระบบป้อนเม็ดพลาสติกเข้าเครื่องจากไซโลแบบอัตโนมัติ เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน
4. แผ่นพลาสติก ไม่ต้องส่งไปเก็บยังคลังสินค้าสำเร็จรูป แต่สร้างโรงงานบริเวณเหนือโรงพิมพ์สี โดยเป็นโครงสร้าง เหล็กชั้นลอยแบบแยกประกอบในที่สามารถเก็บสินค้าได้ รวมถึงวัสดุสำหรับ บรรจุภัณฑ์
5. สินค้าสำเร็จรูปหลังจากพิมพ์สามารถบรรจุ และส่งผ่านสายพานลำเลียงแบบใช้แรงโน้มถ่วง
6. การเจรจาต่อรองของฝ่ายขาย โดยทำบรรจุภัณฑ์เป็นมาตรฐานคล้ายกันและประยุกต์ได้กับลูกค้าหลายบริษัท ทำให้ลดต้นทุนค่าติดตั้งและปรับเครื่องใหม่
7. สิ่งแวดล้อมในการทำงานดีขึ้นไม่เกิดอุบัติเหตุ

8. ลดต้นทุนในการดำเนินงานเฉพาะในส่วนโรงงานได้มากกว่า 20 ล้านบาท

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

พัสดุกับวัสดุคืออะไร

งานพัสดุ/ครุภัณฑ์

ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการพัสดุ พ.ศ. 2541 ให้ความหมายของคำว่าพัสดุไว้ว่า
พัสดุ คือ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง

วัสดุ คือ สิ่งของที่มีสภาพการใช้สิ้นเปลืองหรือเสื่อมสภาพลงเพราะการใช้งานโดยมีอายุการใช้งานน้อยกว่า 1 ปี หรือเป็นสิ่งของที่มีราคาเมื่อจัดหาต่ำกว่า 1,000 บาทและซื้อมาเพื่อการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซม

1) งานวัสดุ เป็นการจัดระบบงาน และดำเนินการจัดซื้อวัสดุสิ้นเปลืองซึ่งมีการเปลี่ยนสภาพหรือหมดสภาพในเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของที่สามารถใช้งานได้ยาวนาน แต่มีราคาไม่เกิน 1,000 บาท เช่น กระดาษ ปากกาหรือเครื่องเขียน แสตมป์ หนังสือ วารสาร วัสดุคอมพิวเตอร์ เครื่องมือการทำงานอื่น ๆ เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของบุคลากรในสำนักงาน โดยในการจัดซื้อวัสดุสำนักงานนั้น ควรมีการจัดซื้อสำรองไว้ตามความ จำเป็นในการใช้งาน หรือตามที่หัวหน้าศูนย์ประสานงานหรือหัวหน้าโครงการวิจัยพิจารณาว่าเหมาะสม

2) งานครุภัณฑ์ ครุภัณฑ์เป็นเครื่องใช้สำนักงานที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานในสำนักงานหรือ Node โดยให้จัดซื้อครุภัณฑ์เฉพาะที่จำเป็นต้องใช้จริงในขณะนั้น และครุภัณฑ์ใดที่ยังไม่จำเป็นหรือยังไม่แน่ใจว่าจะต้องใช้หรือไม่ ควรชะลอการจัดซื้อไว้ก่อน
สำหรับเกณฑ์ในการจัดซื้อครุภัณฑ์ของศูนย์ประสานงาน ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาโครงการ หากมีการเปลี่ยนแปลงรายการครุภัณฑ์ใดในสัญญา Node ต้องแจ้ง สกว. ภาค ทราบเพื่อหารือถึงความจำเป็นก่อนดำเนินการจัดซื้อทุกครั้ง หรือหากสามารถจัดซื้อครุภัณฑ์ได้ในราคาต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้ งบประมาณส่วนที่เหลือ Node สามารถหารือเพื่อขออนุมัติ การใช้เงินส่วนดังกล่าวสำหรับการจัดซื้อครุภัณฑ์อื่นที่จำเป็นแทนได้ หรือสามารถขออนุมัติเพื่อโอนไปใช้ในหมวดอื่นแทนได้เช่นกัน

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สรุป : ระบบสารสนเทศในงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า

1 ความหมายและวัตถุประสงค์ของงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า
ความหมาย สินค้าคงคลัง เป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องมีเพื่อการดำเนิน งาน และมีสภาพคล่องสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ไม่ลำบาก เช่น สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบเพื่อการผลิตงานระหว่างทำ ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ การจัดหาสินค้าคงคลัง สามารถทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 สั่งผลิตหรือจัดซื้อมาจะทำได้กับธุรกิจที่ช่วงระยะเวลาส่งของให้ลูกค้านานพอที่จะไปดำเนินการจัดซื้อหรือผลิตได้
วิธีที่ 2 วางแผนจัดหาสินค้าคงคลังโดยพิจารณา จากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นการวางแผนจัดเตรียมสินค้าคลังไว้ล่วงหน้า
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้การทำงานมีความยืดหยุ่น ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
2. เพื่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย

1.งานสินค้าคงคลัง ( Inventory )
หมายถึง กระบวนการบริหารและควบคุมสินค้าที่สำรองไว้ให้มีปริมาณและมูลค่าที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในธุรกิจ
- มีจุดประสงค์หลักที่จะสำรองสินค้าอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอเสมอ สำหรับการเบิกจ่ายโดยปราศจากการขาดมือของสินค้า
- มีเป้าหมายที่จะใช้ต้นทุนน้อยที่สุด ในการสำรองสินค้าและการดำเนินงานหากให้ ผลกำไรที่สูงสุดแก่ธุรกิจขององค์กร

2.งานคลังสินค้า (Warehousing)
คือ กระบวนการเก็บ หยิบ ส่งสินค้า มีจุดประสงค์หลักที่จะบริหารและดำเนินธุรกิจในส่วนเกี่ยวข้องกับคลังสินค้าอย่างเป็นระบบ
3.คลังสินค้า( Warehouse)
คือ สถานที่ใช้เก็บสินค้าที่ผลิตออกมา/สำรองสินค้าที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะนำไปขาย/เบิกจ่ายหรือสำรองสินค้าไว้และเป็นจุดพักสินค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าส่ง (wholesale) หรือผู้ค้าปลีก (Retail outlets) แล้วแต่ละกรณีหรือบางกรณีก็สามารถใช้คำว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution center) แทน

คลังสินค้ามีองประกอบสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจคลังสินค้า
1. โครงสร้างทางวิศวกรรมของอาคารสถานที่
2. อุปกรณ์ที่จำเป็น
3. บุคลากร
4. การขนส่งสินค้า
5. ระบบการส่งต่อเอกสารและการบันทึกบัญชีประจำวัน


ประเภทของคลังสินค้า ตามลักษณะการครอบครอง
คลังสินค้าเอกชน Private Warehouse เป็นทรัพย์สินขององค์กรเจ้าของสินค้า Owner ซึ่งบริหารและการดำเนินการเองทั้งหมด เก็บเฉพาะสินค้าที่ต้องการ
คลังสินค้าสาธารณะ Public Warehouse เป็นคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการทำธุรกิจรับดำเนินการติดตั้งระบบการ คลังสินค้าให้กับหลายองค์กรมาใช้บริการ


คลังสินค้ามีองประกอบสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจคลังสินค้า
1. โครงสร้างทางวิศวกรรมของอาคารสถานที่
2. อุปกรณ์ที่จำเป็น
3. บุคลากร
4. การขนส่งสินค้า
5. ระบบการส่งต่อเอกสารและการบันทึกบัญชีประจำวัน

องค์ประกอบของงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ
1. สินค้าคงคลัง (Inventory Item)
2. ระดับที่เหมาะสมของสินค้าคงคลัง (Inventory Level)
3. จุดสั่งใหม่ (Reorder Point)
4. สินค้าทดแทน (Substituted Item)
5. สินค้าส่งคืน (Returned/reject Item)


1. สินค้าคงคลัง (Inventory Item) คือ สินค้าที่องค์กรเก็บสำรองไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ แบ่งได้ 3 ประเภท
1. วัตถุดิบที่ใช้ป้อนกระบวนการผลิต (Raw goods)
2. สินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิต (Work in Process /WIP)
3. สินค้าคงคลังสำเร็จรูป (Finished Inventories)

2. ระดับที่เหมาะสมของสินค้าคงคลัง (Inventory Level) คือ ปริมาณสินค้าคงคลังที่พอเหมาะกับกิจการขององค์กรโดยใช้ต้นทุนและปราศจากเหตุการณ์สินค้าไม่เพียงพอการเบิกจ่าย
3. จุดสั่งใหม่ มี 3 ประเภท คือ
3.1 ระบบปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด(Economic Order Quantity System : EOQ)
3.2 ระบบรอบเวลาสั่งซื้อที่คงที่ (Fixed Interval System)
3.3 ระบบจัสท์อินไทม์ (Just In Time : JIT)


องค์ประกอบหลักของงานคลังสินค้า แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1. โครงสร้างของคลังสินค้า ( Warehouse Configuration)
2. เจ้าของสินค้า และ ผู้รับสินค้า (Owner)
3. สินค้า (Product) เช่น กลุ่ม (Group) และ กลุ่มย่อย (Sub-group) หน่วยนับ (Unit of Measurement : UOM )

3 การติดตั้งและการดำเนินงานระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง
1. การเตรียมการติดตั้งระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง
1.1 ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้
1.2 เตรียมเครื่องใช้สำนักงานที่เกี่ยวข้อง
1.3 ข้อมูลทั่วไปในการสร้างแฟ้มข้อมูลหลัก
1.4 ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
1.5 วางแผนกระทำการติดตั้งระบบ
1.6 กำหนดแผนการใช้งานคู่ขนาน
2. การติดตั้งระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง
2.1 ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้
2.2 สร้างแฟ้มข้อมูลหลัก
2.3 บันทึกยอดยกมาของสินค้าแต่ละชนิด


4 การติดตั้งและการดำเนินงานระบบสารสนเทศคลังสินค้า
1. การเตรียมการติดตั้งระบบสารสนเทศคลังสินค้า
1.1 คลังสินค้า
1.2 เจ้าของสินค้า
1.3 สถานที่จัดส่ง
1.4 สินค้า
1.5 บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
1.6 วางแผนโครงการติดตั้งระบบ
1.7 ยอดยกมาของสินค้าคงเหลือ

2. การติดตั้งระบบสารสนเทศคลังสินค้า ลักษณะเดียวกับสินค้าคงคลัง

การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารระบบสารสนเทศ
1. เพื่อคุณภาพและความถูกต้องของการดำเนินการ
2. ลดเวลาในการดำเนินงาน
3. ลดค่าใช้จ่ายในการทำงานนอกเวลา
4. เพิ่มความสะดวกในการดำเนินงาน
5. เพิ่มภาพพจน์ที่ดีให้แก่องค์กร

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กฏหมายเกี่ยวกับคลังสินค้า

กฏหมายเกี่ยวกับคลังสินค้า

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง องค์การคลังสินค้า พ.ศ.2498ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2498เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งองค์การคลังสินค้าอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 95 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า พ.ศ.2498"

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ในพระราชกฤษฎีกานี้

"องค์การฯ"หมายความว่า องค์การคลังสินค้า
"พนักงาน"หมายความว่า ผู้ที่ทำงานสังกัดอยู่ในองค์การทุกตำแหน่งที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้อำนวยการ
"ผู้อำนวยการ"หมายความว่า ผู้อำนวยการขององค์การ
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการขององค์การ
"รัฐมนตรี"หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้


มาตรา 4 ให้จัดตั้งองค์การขึ้นองค์การหนึ่ง เรียกว่า "องค์การคลังสินค้า"

มาตรา 5 องค์การมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในจังหวัดพระนคร และจะตั้งสำนักงานสาขา หรือตัวแทนขึ้น ณ ที่ใดภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรก็ได้

มาตรา 6 องค์การมีวัตถุประสงค์ทำกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งธุรกิจ บริการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค
(มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2540 ใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2540)


มาตรา 7 เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวในมาตรา 6 ให้องค์การมีอำนาจรวมถึง
(1) ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองที่ดินและทรัพย์สินอื่น ๆ มีทรัพย์สิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม จำนำ รับจำนำ จำนอง รับจำนอง จัดหา จำหน่าย แลกเปลี่ยน โอน และรับ โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งที่ดินทรัพย์สิน อื่น ๆ หรือสิทธิทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร รับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ และดำเนินการเกี่ยวกับ เครื่องใช้ บริการ หรือ ทรัพย์สินใด ๆ
(2) ทำการผลิต การค้า การรับฝากขาย การสะสม การรวบรวม และการขนส่งสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภค บริโภค
(3) ประกอบกิจการคลังสินค้าและกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งธุรกิจบริการ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค
(4) ร่วมการงานหรือสมทบกับบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์แก่กิจการขององค์การ รวมทั้งการเข้าเป็นหุ้นส่วน จำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือนิติบุคคลใด โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
(มาตรา 7 (4) แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518 ใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2518)
(5) กู้ ยืม เงิน ถ้าเป็นจำนวนเกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ต้องได้รับอนุญาตจากคณะรัฐมนตรีก่อน
(6) ให้กู้ ให้ยืมเงิน โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือด้วยทรัพย์
(7) จัดตั้งฉางข้าว โรงสี คลังสินค้า และร้านค้า
(8) กระทำการอื่นใดเพื่อส่งเสริมการผลิตตลอดจนกิจการค้าสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทย ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร (มาตรา 7 (2) (3) (5) (8) แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2540 ใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2540)


มาตรา 8 ให้กระทรวงเศรษฐการโอนบรรดาทรัพย์สิน สินทรัพย์ สิทธิ ความรับผิดและธุรกิจของกองคลังสินค้า กรมการค้าภายใน ซึ่งสังกัดอยู่ในกระทรวงเศรษฐการ ตลอดจนพนักงานของกองคลังสินค้า ก่อนวันใช้พระราชกฤษฎีกานี้บังคับให้แก่องค์การ ซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกานี้ดำเนินการต่อไป

มาตรา 9 ให้กำหนดทุนขององค์การเป็นจำนวนเงินหนึ่งร้อยยี่สิบห้าล้านบาท โดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาท และจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลพิจารณาเห็นสมควร

มาตรา 10 เงินสำรองขององค์การให้ประกอบด้วยเงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาด เงินสำรองเพื่อไถ่ถอนหนี้ และเงินสำรองอื่น ๆ เพื่อความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะตามแต่คณะกรรมการจะเห็นสมควร

มาตรา 11 รายได้ที่องค์การได้รับจากการดำเนินกิจการในระหว่างปีให้นำไปใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อกิจการขององค์การได้

มาตรา 12 รายได้ปีหนึ่ง ๆ เมื่อได้หักราคาทุนของสินค้าที่ได้จำหน่าย หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาตรา 11 และหักค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสมออกแล้ว เหลือเป็นกำไรสุทธิประจำปีเท่าใด อาจจัดสรรไว้เป็นเงินสำรองตามมาตรา 10 เงินต่าง ๆ ตามมาตรา 20 เงินสมทบกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้อำนวยการและพนักงานตามมาตรา 27 และเงินลงทุนซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เหลือเท่าใดให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ
ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับกรณีดังกล่าว นอกจากเงินสำรองที่ระบุไว้ในมาตรา 10 และองค์การไม่สามารถหาเงินจากทางอื่นไดั รัฐบาลพึงพิจารณาจ่ายเงินให้แก่องค์การเท่าจำนวนที่จำเป็น


มาตรา 13 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การและเพื่อการนี้รัฐมนตรี มีอำนาจเรียกประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ ตัวแทนขององค์การ หรือบุคคลใด ๆ ในองค์การมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือให้ทำรายงานยื่นก็ได้ (มาตรา 13 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)

มาตรา 14 เรื่องที่ต้องเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีตามความในพระราชกฤษฎีกานี้ ให้คณะกรรมการนำเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (มาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2518 ใช้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2518)

มาตรา 15 ให้มีคณะกรรมการองค์การคลังสินค้าคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการ รองประธาน กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงละหนึ่งคนเป็นกรรมการและกรรมการอื่นซึ่งมิใช่ผู้แทนของส่วนราชการอีกไม่เกินห้าคน และผู้อำนวยการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่น
ให้ผู้อำนวยการเป็นเลขานุการคณะกรรมการ
(มาตรา 15 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)
มาตรา 16 ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ คือ
(1) มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การหรือในกิจการที่จะกระทำให้แก่องค์การ ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดที่กระทำการอันมีส่วนได้เสีย เช่นว่านั้น
(2) เป็นพนักงาน
(3) เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
(4) เป็นข้าราชการการเมืองหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(5) ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง


มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535) (มาตรา 16 (5) แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2540 ใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2540)

มาตรา 17 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การ และให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย คือ (1) ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 6 และมาตรา 7
(2) วางข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารงาน
(3) วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การเลื่อนขั้นเงินเดือน การตัดเงินเดือน การลดขั้นเงินเดือนและระเบียบวินัยของพนักงาน ตลอดจนกำหนดอัตราตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้างและเงินอื่น ๆ ของพนักงาน
(4) กำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าภาระ ค่าบริการ และค่าดำเนินธุรกิจต่าง ๆ
(5) กำหนดอัตราและดอกเบี้ยเงินสะสมของผู้อำนวยการและพนักงาน และวางระเบียบการจ่ายคืนเงินสะสม
ข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานที่คณะกรรมการวางขึ้นนั้น ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจผู้อำนวยการในการทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้รัฐมนตรีประกาศข้อบังคับที่มีข้อความเช่นว่านั้นในราชกิจจานุเบกษา


มาตรา 18 ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่ง คราวละสามปี แต่อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ในกรณีที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น ในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดตามวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ให้ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการอื่นซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป จนกว่าคณะกรรมการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
(มาตรา 18 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)


มาตรา 19 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 18 ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีให้ออก
(4) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16
(มาตรา 19 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)


มาตรา 20 ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดเงินผลประโยชน์ตอบแทนของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ และพนักงานอาจได้รับเงินบำเหน็จ เงินรางวัล ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา 21 ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ผู้อำนวยการได้รับเงินเดือนตามที่คณะกรรมการกำหนด


มาตรา 21 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 ใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2535)

มาตรา 22 ผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การ หรือในกิจการที่จะกระทำให้แก่องค์การ ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด ที่กระทำ การอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อำนวยการ

มาตรา 23 ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการขององค์การให้เป็นไปตามนโยบายและ ข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้ และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง ผู้อำนวยการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการจัดการและดำเนินกิจการขององค์การ

มาตรา 24 ผู้อำนวยการมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตลอดจนลงโทษทางวินัยแก่พนักงาน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้ แต่ถ้าพนักงานเช่นว่านั้นเป็นพนักงานชั้นรองผู้อำนวยการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญหรือหัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ ที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน
(2) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจการขององค์การโดยไม่แย้งหรือขัดต่อนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้


มาตรา 25 เมื่อผู้อำนวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ถ้ามีรองผู้อำนวยการ ให้รองผู้อำนวยการ เป็นผู้รักษาการแทน ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการ ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งรองผู้อำนวยการ ถ้ามิได้แต่งตั้ง หรือไม่อาจแต่งตั้งได้ให้ คณะกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทน
ให้ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการ มีอำนาจและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ เว้นแต่อำนาจและหน้าที่ของผู้อำนวยการในฐานะกรรมการขององค์การ และต้องปฏิบัติกิจการให้อยู่ภายในแผนงานที่ผู้อำนวยการกำหนดไว้


มาตรา 26 ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนขององค์การและเพื่อการนี้ ผู้อำนวยการอาจมอบให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติกิจการบางอย่างแทนในเมื่อคณะกรรมการกำหนดไว้ในข้อบังคับว่าให้ปฏิบัติแทน กันได้นั้นก็ได้
ในกรณีที่มีข้อบังคับซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 17 วรรคท้าย กำหนดไว้ว่า นิติกรรมใด ผู้อำนวยการจะทำได้ก็แต่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการก่อน นิติกรรมนั้น ผู้อำนวยการ ทำขึ้นโดยมิได้รับความเห็นชอบดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันองค์การ เว้นแต่คณะกรรมการจะได้ให้สัตยาบัน


มาตรา 27 ให้องค์การจัดให้มีกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้อำนวยการ และพนักงานในกรณีพ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ การจัดให้ได้มาซึ่งกองทุนดังกล่าวในวรรคก่อน การกำหนดประเภทของผู้ที่พึงได้รับการสงเคราะห์จากกองทุน และหลักเกณฑ์การสงเคราะห์ ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับกองทุน ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการได้วางไว้
ข้อบังคับดังกล่าวในวรรคก่อน ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ใช้บังคับได้


มาตรา 28 ให้องค์การเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ระเบียบของคณะกรรมการซึ่งได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

มาตรา 29 ให้องค์การวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีอันถูกต้อง แยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ มีการสอบบัญชีภายในเป็นประจำ และมีสมุดบัญชีลงรายการ
(1) การรับและจ่ายเงิน
(2) สินทรัพย์และหนี้สิน ซึ่งแสดงการงานที่เป็นอยู่ตามจริงและตามที่ควร ตามประเภทงานพร้อมด้วยข้อความ อันเป็นเหตุที่มาของรายการนั้น ๆ


มาตรา 30 ทุกปีให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบและตรวจบัญชีและการเงินขององค์การ

มาตรา 31 ผู้สอบและตรวจบัญชีมีอำนาจสอบและตรวจสรรพสมุด บัญชี และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ขององค์การ และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ และบุคคลใด ๆ ในองค์การได้

มาตรา 32 ผู้สอบและตรวจบัญชีต้องทำรายงานว่าด้วยข้อความ คำชี้แจง อันควรแก่การสอบ และตรวจบัญชีที่ได้รับตลอดจนความสมบูรณ์ของสมุด บัญชีที่องค์การรักษาอยู่ และต้องแถลงด้วยว่า
(1) งบดุลและบัญชีซึ่งสอบและตรวจนั้นถูกต้องตรงกับสมุด บัญชี เพียงไร หรือไม่
(2) งบดุลและบัญชีซึ่งสอบและตรวจนั้นแสดงการงานขององค์การที่เป็นอยู่ตามจริงและตามที่ควร ตามข้อความ คำชี้แจงและความรู้เห็นของผู้สอบและตรวจบัญชี เพียงไรหรือไม่


มาตรา 33 ผู้สอบและตรวจบัญชี ต้องทำรายงานผลของการสอบและตรวจบัญชีเสนอคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับจากวันสิ้นปีบัญชีขององค์การ

มาตรา 34 ให้ผู้อำนวยการจัดทำรายงานประจำปีของปีที่สิ้นไปนั้นเสนอคณะกรรมการ แสดงงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรและขาดทุน ซึ่งผู้สอบและตรวจบัญชีรับรองว่าถูกต้องแล้วภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับจากวันสิ้นปีบัญชีขององค์การ

มาตรา 35 ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานในปีที่ล่วงแล้วขององค์การพร้อมด้วยคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ

มาตรา 36 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
(มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2540 ใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2540)

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการจอมพล ป.พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรี

การบ้าน

การบ้านครั้งที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการควบคุมสินค้า

1.คลังสินค้าหมายถึงอะไร

คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ
2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่


2.การจัดการคลังสินค้ามีการจัดการกับกิจกรรมใดบ้าง

- งานรับสินค้า (Goods Receipt)
- การตรวจพิสูจน์ทราบ (Identify goods)
- การตรวจแยกประเภท (Sorting goods)
- งานจัดเก็บสินค้า (Put away)
- งานดูแลรักษาสินค้า (Holding goods)
- งานจัดส่งสินค้า (Dispatch goods)
- การนำออกจากที่เก็บ (Picking)
- การจัดส่ง (Shipping)
- การส่งสินค้าผ่านคลัง (Cross docking)


3.วัฒถุประสงค์ของการจัดการสินค้าเพื่ออะไร

1. ลดระยะทางในการปฏิบัติการในการเคลื่อนย้ายให้มากที่สุด
2. การใช้พื้นที่และปริมาตรในการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. สร้างความมั่นใจว่าแรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สาธารณูปโภคต่างๆ มีเพียงพอและสอดคล้อง กับระดับของธุรกิจที่ได้วางแผนไว้
4. สร้างความพึงพอใจในการทำงานในแต่ละวันแก่ผู้เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายสินค้า ทั้งการรับเข้าและการจ่ายออก โดยใช้ปริมาณจากการจัดซื้อ และความต้อง การในการ จัดส่งให้แก่ลูกค้าเป็นเกณฑ์
5. สามารถวางแผนได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุม และรักษาระดับการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริการภายใต้ต้นทุนที่เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่าในการลงทุนตามขนาดธุรกิจที่กำหนด


4. กิจกรรมหลักของคลังสินค้าและความสัมพันธ์กับกิจอื่นในการจัดการคลังสินค้ามีอะไรบ้าง

1. คลังสินค้าช่วยสนับสนุนการผลิต (Manufacturing support) โดยคลังสินค้าจะทำหน้าที่ในการรวบรวมวัตถุดิบในการผลิต ชิ้นส่วน และส่วนประกอบต่างๆจากผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป
2. คลังสินค้าเป็นที่ผสมผลิตภัณฑ์ (Mix warehouse) ในกรณีที่มีการผลิตสินค้าจากโรงงานหลายแห่ง โดยอยู่ในรูปของคลังสินค้ากลาง จะทำหน้าที่รวบรวมสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงานต่างๆไว้ในที่เดียวกัน เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามต้องการ ขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่รายว่าต้องการสินค้าจากโรงงานใดบ้าง
3. คลังสินค้าเป็นที่รวบรวมสินค้า (Consolidation warehouse) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจำนวนมากจากโรงงานหลานแห่ง คลังสินค้าจะช่วยรวบรวมสินค้าจากหลายแหล่งเพื่อจัดเป็นขนส่งขนาดใหญ่หรือทำให้เต็มเที่ยว ซึ่งช่วยประหยัดค่าขนส่ง
4 .คลังสินค้าใช้ในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง (Break Bulk warehouse) ในกรณีที่การขนส่งจากผู้ผลิตมีหีบห่อหรือพาเลตขนาดใหญ่ คลังสินค้าจะเป็นแหล่งที่ช่วยในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลงเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้ารายย่อยต่อไป


5. Swot Analysis คืออะไรจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างงานที่เกี่ยวกับระบบงานคลังสินค้า

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ/ชุมชน (SWOT) เพื่อศึกษาแนวโน้มพัฒนาการขององค์การหรือชุมชน การสำรวจ เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชน และความต้องการของชาวบ้านในชุมชน และนำมาสรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ตรงและตอบสนองความต้องการของชุมชน การวิเคราะห์สภาพขององค์การเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาจะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย ซึ่งการวิเคราะห์ SWOT เป็นกาารจัดทำแผนกลยุทธ์วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยให้องค์การ หรือชุมชนได้ทราบถึงสถานภาพของตัวเอง อันจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ โดยวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การหรือชุมชนนั้น ๆ ใน 4 ประเด็น คือ ปัจจัยภายในองค์การ S: Strength หมายถึง จุดแข็ง องค์การ/ชุมชนจะต้องมีการประเมินจุดแข็งของตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยภายใน หรือสิ่งที่องค์การ/ชุมชนมีอยู่เองแล้ว เพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความสำเร็จขององค์การตนในมิติต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง สถานการณ์ทางการเงินการคลัง ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ โดยประเมินจากระดับสูงไปหาระดับต่ำ แต่จุดแข็งในบางประเด็นก็อาจจะไม่ใช่ความสำคัญต่อความสำเร็จก็ได้ ต้องพิจารณาดูดี ๆW: Weakness หมายถึง จุดอ่อน องค์การหรือชุมชน จะต้องมีการประเมินจุดอ่อนของตนเอง เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนภายใน ที่ยุ่งยากซับซ้อน ระบบการตรวจสอบภายใน ความมุ่นมั่นของทีมงาน ชุมชนใหม่ คนในชุมชนมาจากหลากหลายแหล่ง ฯลฯ เพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความล้มเหลวขององค์การในมิติต่างๆ เช่นเดียวกับการประเมินจุดแข็ง โดยมีการประเมินจากระดับสูง (เป็นจุดอ่อนมาก) ไปหาระดับต่ำ (ไม่ค่อยเป็นจุดอ่อน) อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกันจุดอ่อนในบางเรื่องก็ไม่ใช่ว่าจะมีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การ ต้องพิจารณาดูดี ๆ เช่นกันปัจจัยภายนอกองค์การ O: Opportunity หมายถึง โอกาสหรือสิ่งที่องค์การได้เปรียบคู่แข่ง ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก เช่น น้ำมันมีราคาแพงในขณะที่องค์การของเราไม่ได้ใช้น้ำมันมากนักในการผลิตสินค้า/บริการ หรือการมีเครือข่ายองค์กรต้นแบบที่เข้มแข็งอยู่ไม่ไกลจากชุมชนทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง การมีองค์การภาคเอกชนไม่แสวงหากำไรเข้ามาพัฒนาในชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้องค์การหรือชุมชน ควรจะได้พิจารณาโอกาสสำคัญในเรื่องสิ่งน่าประทับใจ และโอกาสของการประสบความสำเร็จขององค์การหรือชุมชนเป็นสำคัญT: Threat หมายถึง อุปสรรคจากภายนอกที่จะคอบขัดขวางการพัฒนาขององค์การหรือชุมชน เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้ง ส.อบต. เป็นแบบรวมเขต (แล้วแต่มุมมองหรือสถานการณ์จริงในแต่ละพื้นที่) การยกเลิก กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาล สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่... ที่กำลังเกิดขึ้น และพื้นที่/ชุมชนเรามีบริบทที่คล้าย ๆ กัน เป็นต้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อเป้าประสงค์ขององค์การ ทั้งนี้ควรพิจารณาอุปสรรคในด้านของความรุนแรงและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นโดยตรงกับองค์การ/ชุมชนนั้น ๆ ด้วยการวิเคราะห์ SWOT เป็นกาารจัดทำแผนกลยุทธ์วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยให้องค์การ หรือชุมชนได้ทราบถึงสถานภาพของตัวเอง อันจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ