วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การบ้าน

การบ้านครั้งที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการควบคุมสินค้า

1.คลังสินค้าหมายถึงอะไร

คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ
2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่


2.การจัดการคลังสินค้ามีการจัดการกับกิจกรรมใดบ้าง

- งานรับสินค้า (Goods Receipt)
- การตรวจพิสูจน์ทราบ (Identify goods)
- การตรวจแยกประเภท (Sorting goods)
- งานจัดเก็บสินค้า (Put away)
- งานดูแลรักษาสินค้า (Holding goods)
- งานจัดส่งสินค้า (Dispatch goods)
- การนำออกจากที่เก็บ (Picking)
- การจัดส่ง (Shipping)
- การส่งสินค้าผ่านคลัง (Cross docking)


3.วัฒถุประสงค์ของการจัดการสินค้าเพื่ออะไร

1. ลดระยะทางในการปฏิบัติการในการเคลื่อนย้ายให้มากที่สุด
2. การใช้พื้นที่และปริมาตรในการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. สร้างความมั่นใจว่าแรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สาธารณูปโภคต่างๆ มีเพียงพอและสอดคล้อง กับระดับของธุรกิจที่ได้วางแผนไว้
4. สร้างความพึงพอใจในการทำงานในแต่ละวันแก่ผู้เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายสินค้า ทั้งการรับเข้าและการจ่ายออก โดยใช้ปริมาณจากการจัดซื้อ และความต้อง การในการ จัดส่งให้แก่ลูกค้าเป็นเกณฑ์
5. สามารถวางแผนได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุม และรักษาระดับการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริการภายใต้ต้นทุนที่เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่าในการลงทุนตามขนาดธุรกิจที่กำหนด


4. กิจกรรมหลักของคลังสินค้าและความสัมพันธ์กับกิจอื่นในการจัดการคลังสินค้ามีอะไรบ้าง

1. คลังสินค้าช่วยสนับสนุนการผลิต (Manufacturing support) โดยคลังสินค้าจะทำหน้าที่ในการรวบรวมวัตถุดิบในการผลิต ชิ้นส่วน และส่วนประกอบต่างๆจากผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป
2. คลังสินค้าเป็นที่ผสมผลิตภัณฑ์ (Mix warehouse) ในกรณีที่มีการผลิตสินค้าจากโรงงานหลายแห่ง โดยอยู่ในรูปของคลังสินค้ากลาง จะทำหน้าที่รวบรวมสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงานต่างๆไว้ในที่เดียวกัน เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามต้องการ ขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่รายว่าต้องการสินค้าจากโรงงานใดบ้าง
3. คลังสินค้าเป็นที่รวบรวมสินค้า (Consolidation warehouse) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจำนวนมากจากโรงงานหลานแห่ง คลังสินค้าจะช่วยรวบรวมสินค้าจากหลายแหล่งเพื่อจัดเป็นขนส่งขนาดใหญ่หรือทำให้เต็มเที่ยว ซึ่งช่วยประหยัดค่าขนส่ง
4 .คลังสินค้าใช้ในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง (Break Bulk warehouse) ในกรณีที่การขนส่งจากผู้ผลิตมีหีบห่อหรือพาเลตขนาดใหญ่ คลังสินค้าจะเป็นแหล่งที่ช่วยในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลงเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้ารายย่อยต่อไป


5. Swot Analysis คืออะไรจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างงานที่เกี่ยวกับระบบงานคลังสินค้า

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ/ชุมชน (SWOT) เพื่อศึกษาแนวโน้มพัฒนาการขององค์การหรือชุมชน การสำรวจ เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชน และความต้องการของชาวบ้านในชุมชน และนำมาสรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ตรงและตอบสนองความต้องการของชุมชน การวิเคราะห์สภาพขององค์การเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาจะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย ซึ่งการวิเคราะห์ SWOT เป็นกาารจัดทำแผนกลยุทธ์วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยให้องค์การ หรือชุมชนได้ทราบถึงสถานภาพของตัวเอง อันจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ โดยวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การหรือชุมชนนั้น ๆ ใน 4 ประเด็น คือ ปัจจัยภายในองค์การ S: Strength หมายถึง จุดแข็ง องค์การ/ชุมชนจะต้องมีการประเมินจุดแข็งของตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยภายใน หรือสิ่งที่องค์การ/ชุมชนมีอยู่เองแล้ว เพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความสำเร็จขององค์การตนในมิติต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง สถานการณ์ทางการเงินการคลัง ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ โดยประเมินจากระดับสูงไปหาระดับต่ำ แต่จุดแข็งในบางประเด็นก็อาจจะไม่ใช่ความสำคัญต่อความสำเร็จก็ได้ ต้องพิจารณาดูดี ๆW: Weakness หมายถึง จุดอ่อน องค์การหรือชุมชน จะต้องมีการประเมินจุดอ่อนของตนเอง เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนภายใน ที่ยุ่งยากซับซ้อน ระบบการตรวจสอบภายใน ความมุ่นมั่นของทีมงาน ชุมชนใหม่ คนในชุมชนมาจากหลากหลายแหล่ง ฯลฯ เพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความล้มเหลวขององค์การในมิติต่างๆ เช่นเดียวกับการประเมินจุดแข็ง โดยมีการประเมินจากระดับสูง (เป็นจุดอ่อนมาก) ไปหาระดับต่ำ (ไม่ค่อยเป็นจุดอ่อน) อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกันจุดอ่อนในบางเรื่องก็ไม่ใช่ว่าจะมีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การ ต้องพิจารณาดูดี ๆ เช่นกันปัจจัยภายนอกองค์การ O: Opportunity หมายถึง โอกาสหรือสิ่งที่องค์การได้เปรียบคู่แข่ง ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก เช่น น้ำมันมีราคาแพงในขณะที่องค์การของเราไม่ได้ใช้น้ำมันมากนักในการผลิตสินค้า/บริการ หรือการมีเครือข่ายองค์กรต้นแบบที่เข้มแข็งอยู่ไม่ไกลจากชุมชนทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง การมีองค์การภาคเอกชนไม่แสวงหากำไรเข้ามาพัฒนาในชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้องค์การหรือชุมชน ควรจะได้พิจารณาโอกาสสำคัญในเรื่องสิ่งน่าประทับใจ และโอกาสของการประสบความสำเร็จขององค์การหรือชุมชนเป็นสำคัญT: Threat หมายถึง อุปสรรคจากภายนอกที่จะคอบขัดขวางการพัฒนาขององค์การหรือชุมชน เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้ง ส.อบต. เป็นแบบรวมเขต (แล้วแต่มุมมองหรือสถานการณ์จริงในแต่ละพื้นที่) การยกเลิก กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาล สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่... ที่กำลังเกิดขึ้น และพื้นที่/ชุมชนเรามีบริบทที่คล้าย ๆ กัน เป็นต้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อเป้าประสงค์ขององค์การ ทั้งนี้ควรพิจารณาอุปสรรคในด้านของความรุนแรงและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นโดยตรงกับองค์การ/ชุมชนนั้น ๆ ด้วยการวิเคราะห์ SWOT เป็นกาารจัดทำแผนกลยุทธ์วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยให้องค์การ หรือชุมชนได้ทราบถึงสถานภาพของตัวเอง อันจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ

ไม่มีความคิดเห็น: